วิธีการดูแล

หน้าหลัก ชนิดของกวาง บรรณานุกรม

 

กวางเป็นสัตว์ที่อาศัยในปาธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ทั้งป่าต่ำและป่าสูง ชอบหากินในทุ่งโล่งและชายป่าในเวลากลางวันและช่วงเช้า และเมื่ออากาศร้อนจะขึ้นหลบซ่อนไปนอนตามพุ่มไม้ชายป่า

อาหารที่ใช้เลี้ยงกวาง

          อาหารหยาบ กวางเป็นสัตว์ที่กินพืชอาหารสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เช่น หญ้า ถั่ว พืชอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น หญ้าหมัก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ต้นไมยราบ กระถิน ต้นไม้ใบต่างๆ แต่จะไม่ชอบกินพืชที่มีกลิ่นหรือยาง เช่น ต้นดอกรัก สะเดา กะเพรา เป็นต้น  ควรมีพืชอาหารสัตว์สำรองไว้ให้เพียงพอ ถ้ากวางได้รับอาหารหยาบที่มีคุณภาพเพียงพอแล้วจะช่วยลดต้นทุนค่าอาหารข้น
          อาหารข้น ในช่วงฤดูแล้งที่ขาดแคลนหญ้าสด ช่วงกวางตั้งท้อง ช่วงให้นมลูก และกวางที่ป่วยอ่อนแอ ควรเสริมอาหารข้น โดยจะใช้อาหารโคนมโปรตีน 16-18% ให้กินวันละ 1% น้ำหนักตัว


จากการสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของกวาง ในระยะแรกที่นำมาเลี้ยงกวางจะออกแทะเล็มพืชหญ้าและกินอาหารข้นในตอนเย็นและกลางคืน ช่วงกลางวันจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มซ่อนตัวใต้ร่มเงาไม้ เนื่องจากกวางยังมีสัญชาติญาณของสัตว์ป่าระวังภัยอยู่ กวางกินหญ้าได้ทุกชนิด แต่ควรระวังหญ้าซิกแนล หากให้กินอย่างเดียวทุกวันอาจะได้รับเชื้อรา หรือสารพิษ Saponin กวางจะเลือกกินส่วนของใบหญ้า ไม่ชอบกินส่วนก้าน และจะเลือกกินใบไม้หรือวัชพืชบางชนิด คือ
- ใบไม้ที่กวางกินได้ เช่น ใบมะขามเทศ ใบกก ใบกล้วย ใบพุทรา ใบมะกอกป่า ใบกระถิน ใบขนุน ใบปีบ ใบตะคล้า ใบไมยรา และใบพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ
- ใบไม้ที่กวางไม่กิน เช่น ใบสาบเสือ ใบหนาด ใบคันทา ใบดอกรัก ใบตีนกา ใบยอดอ้อย และใบต้นสบู่



การให้อาหารกวาง

1. การเลี้ยงแบบขังกรง ตัดพืชอาหารสัตว์มาให้กิน

- ต้องมีพืชอาหารให้กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา

- ควรมีแหล่งพืชอาหารอย่างน้อย 2-3 แหล่ง

- รางอาหารควรยาวพอให้กวางได้กินทุกตัว ไม่เบียดกัน

- ควรตัดพืชอาหารให้กินหลายๆ ชนิด และตัดหญ้าสดให้กินทุกวัน

2. เลี้ยงแบบปล่อยแปลงหญ้า

- ควรมีแปลงหญ้าหมุนเวียนอย่างเพียงพอ (ไม่ควรน้อยกว่า 3 แปลง)

- ควรปลูกหญ้าไว้อย่างน้อย 2 ชนิด (ชนิดละแปลง)


พฤติกรรมการผสมพันธุ์
 
          ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กวางตัวผุ้จะมีเขาที่แข็งเต็มที่ คอใหญ่ ไหล่หนาสีขนเข้มขึ้น และลูกอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ทำให้มีน้ำเชื้ออสุจิมากจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ พฤติกรรมของกวางจะทำเสียงขู่ เขาขวิดต้นไม้ ชนรั้ว ต่อสู้คน ต่อมใต้ตาเปิด ตาขวาง ชอบเล่นน้ำ และชอบฉี่รดรอบตัวเองให้มีกลิ่นติดตัวเพื่อเรียกความสนใจจากตัวเมีย และจะทำริมฝีปากม้วนคล้ายแพะ กวางบางพันธุ์จะเปลี่ยนสีขนในฤดูกาลผสมพันธุ์ เช่น กวางซีก้า จะเปลี่ยนสีขนเป็นสีน้ำตาลหมดทั้งตัว กวางรูซ่ามักจะตามไล่ตัวเมียที่เป็นสัด แต่ถ้าเป็นกวางป่าตัวเมียจะเข้ามาหาตัวผู้ อัตราส่วนการคุมผูงผสมพันธุ์ ตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1:20-30 อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าตัวผู้ อายุ 2 ปี น้ำหนัก 70 กก. ตัวเมีย อายุ 18 เดือน น้ำหนัก 45 กก. จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำลงด้วย นอกจากนี้อาหารที่มีคุณภาพดีมีผลต่ออัตราการตั้งท้องสูงถึง 95% ถ้ากวางได้รับอาหารคุณภาพต่ำโอกาสการตั้งท้องเพียง 55% อายุที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ของกวางฟอลโล 16 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักตัว 30 กก.

           ฤดูกาลผสมพันธุ์ของกวางรูซ่าโดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม แต่จากการศึกษาข้อมูลการเกิดของลูกกวางพันธุ์ต่างๆ พบว่า ลูกกวางพันธุ์รูซ่าเกิดขึ้นตลอดปี ซึ่งหมายถึงกวางรูซ่าสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับกวางพันธุ์พื้นเมืองของไทย ที่มีลูกเกิดตลอดปี ขณะที่กวางแดงและกวางฟอลโลเป็นกวางพันธุ์ยุโรปที่มีฤดูผสมพันธุ์ค่อนข้างสูงมาก (highly season patterns of reproduction) ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และจะคลอดลูกในเดือน มิถุนายน-สิงหาคม ทั้งนี้อาจเนื่องจากความยาวของแสง (photoperoid) มีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์ของกวางแดงและกวางฟอลโล (Asher และคณะ, 1991) กวางส่วนใหญ่มักคลอดลูกเพียงตัวเดียว แต่กวางมูส และกวางน้ำจีน (Chinese Water Deer) ที่ให้ลูกแฝด
           กวางม้า เนื้อทราย กวางรูซ่า และกวางแดง สามารถผสมข้ามพันธุ์กันได้เนื่องจากอยู่ในตระกูล Cervus เดียวกัน

 


การจัดการเลี้ยงกวาง
สภาพพื้นที่ในการเลี้ยงกวาง  
- พื้นที่ในการเลี้ยงกวางควรเป็นที่ดอน หรือหากเป็นพื้นราบไม่ควรมีน้ำขังแฉะจนเป็นโคลนตม
- ลักษณะแปลงที่ปล่อยเลี้ยงกวางควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีแปลงไม่น้อยกว่า 3 แปลง เพื่อแยกเลี้ยงกวางระยะอุ้มท้องกับแม่เลี้ยงลูก กวางหย่านม และกวางที่โตเต็มที่
- ควรมีทางวิ่ง (race way) ระหว่างทุกแปลงสำหรับใช้ต้อนกวาง
- ควรมีต้นไม้ใหญ่ในแปลง หรือที่ให้ร่มเงาและไว้หลบซ่อนระวังภัย เนื่องจากกวางเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย เมื่อตกใจจะกระโจนไปตามแนวรั้ว ชนบาดเจ็บ
- ควรเลี้ยงกวางให้ห่างจากฟาร์มแกะและสุกรอย่างน้อย 1 กิโลเมตร เนื่องจากอาจจะติดเชื้อโรค Malignant catarrh จากแกะ และอาจะติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยจากสุกรได้
- ถ้าเป็นไปได้ควรนำตัวอย่างดินส่งตรวจเชื้อมงคล่อพิษ และเชื้อแอนแทรกซ์
- การล้อมรั้วกวาง ขอบล่างให้ติดพื้นดิน และใช้เส้นรั้วลวดหนามขึงติดกับพื้นดินป้องกันสุนัขเข้ามาทำร้าย กวางรูซ่าควรมีรั้วรอบนอกสูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร และใช้รั้วที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันกวางได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งชนกระแทก
- หากเลี้ยงกวางจำนวนมากควรมีคอกคัดกวาง (deer yard) และมีซองบังคับตัวกวาง (deer crush) เพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น คัดกวางสำหรับแบ่งฝูง ชั่งน้ำหนัก ตัดเขา หรือทำวัคซีน
- แม่กวางก่อนและหลังคลอด ควรแยกเลี้ยงในแปลงที่มีร่มเงาหรือมีไม้สูงเพื่อใช้เป็นที่หลบคลอดลูก

 

Free Web Hosting